มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
องค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
1.การวิเคราะห์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
1. รายละเอียดการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
1.1 ข้อเสนอแนะจากการประเมิน IIT
คะแนนภาพรวมอยู่ในระดับที่หน่วยงานควรรักษามาตรฐานไว้ และควรส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
1.2 ข้อเสนอแนะจากการประเมิน EIT
หน่วยงานควรพัฒนาตัวชี้วัดด้านการปรับปรุงระบบการทำงานโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงาน ทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และกระบวนการทำงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงมีกระบวนการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการด้วย ทั้งนี้ นอกจากหน่วยงานจะต้องปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้นแล้ว ยังควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความโปร่งใสมากขึ้นอีกด้วย
1.3 ข้อเสนอแนะจากการประเมิน OIT พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับที่หน่วยงานควรรักษามาตรฐานไว้ และควรส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานควรยกระดับตัวชี้วัดด้านการการเปิดเผยข้อมูลให้สูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับ 1) การบริหารงาน ได้แก่ แผนดำเนินงาน ในประเด็นเกี่ยวกับรายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน และการให้บริการในประเด็นเกี่ยวกับ E-Service 2) การบริหารเงินงบประมาณ ได้แก่แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีในประเด็นเกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี รอบ 6 เดือน และการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุในประเด็นเกี่ยวกับสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือนและรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี และ 3) การส่งเสริมความโปร่งใส ได้แก่ การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต ประเด็นเกี่ยวกับช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
2. ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานพัฒนาการดำเนินงานในด้านสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานควรจัดสรรงบประมาณในการติดตั้งไฟส่องสว่างริมทางเพื่อความปลอดภัยของประชาชน และเพิ่มจำนวนถังขยะและบริหารจัดการเรื่องการจัดเก็บขยะมูลฝอย พร้อมทั้งจัดการให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นบริเวณชุมชน
มาตรการ/แนวทาง และรายงานการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ขององค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. มาตรการ / แนวทาง : เสริมสร้างฐานคิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ ส่วนรวม เผยแพร่ให้บุคลากรภายในได้รับทราบ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการ ที่ถูกต้อง และการให้บริการประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อนำไปปฏิบัติ
2. วิธีการดำเนินการ : เสริมสร้างฐานคิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ ส่วนรวม
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการ ที่ถูกต้อง การให้บริการประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาล ในรูปแบบการจัดอบรมจริยธรรมพนักงาน
3. ผู้รับผิดชอบ : สำนักปลัด
4. ระยะเวลาดำเนินการ : ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
5. ผลการดำเนินการ
5.1. หลักฐานการจัดอบรมจริยธรรมพนักงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรม เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
6. ข้อเสนอแนะ อื่นๆ
6.1. ข้อเสนอแนะจากการประเมิน OIT
- ประเด็นเกี่ยวกับ E-Service อบต. ได้จัดให้มีช่องทางการให้บริการ E-Service คือการแจ้งไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดผ่านเว็บไซต์ เพื่อลดขั้นตอนการบริการแก่ประชาชน คลิก
- ประเด็นเกี่ยวกับช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ อบต. ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนดังกล่าว ฯ โดยแยกจากช่องทางการร้องเรียนทั่วไป คลิก
6.2. ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External)
- ประเด็นไฟฟ้าส่องสว่าง การสำรวจไฟฟ้าส่องสว่างนั้นทำได้ยากในเวลาราชการ เนื่องจากไฟฟ้าส่องสว่างจะติดในเวลากลางคืน อบต.จึงจัดให้มีระบบ E-Service ร้องเรียนไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดเพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุดังกล่าวได้มีส่วนร่วม โดยสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์